จดทะเบียนนิติบุคคล ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

ปกติแล้วในทุก ๆ ปี หน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงตามกำหนด ก็คือต้องทำการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา แต่ในคนที่มีธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการที่มีรายได้ 5 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป หากเสียภาษีแบบจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา ก็ต้องจ่ายภาษีจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วยการจดทะเบียนนิติบุคคลแทน ซึ่งจะทำให้เราเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง เรามีรายละเอียดในเรื่องนี้มาฝากกัน

จดทะเบียนนิติบุคคล ดีอย่างไร

ข้อดีของการจดทะเบียนนิติบุคคล คือ สามารถ ลดหย่อนภาษี ได้ถูกกว่าเมื่อจดทะเบียนแบบนิติบุคคล เนื่องจากว่าอัตราภาษีบุคคลธรรมดากับภาษีของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนการค้านั้นไม่เท่ากัน เช่น บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 35% แต่หากว่ามีการจดทะเบียนนิติบุคคล และทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษี โดยจะเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 20% เท่ากับว่าเสียภาษีถูกกว่าบุคคลธรรมดาถึง 15%ขอบคุณบทความดี ๆ จาก

จดทะเบียนนิติบุคคล ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

1.ลดหย่อนภาษีได้เมื่อกิจการขาดทุน หากธุรกิจของเรามีการติดขัดและขาดสภาพคล่องทางการเงิน เราสามารถนำเอกสารที่แสดงผลประกอบการที่ขาดทุนไปยื่นตอนเสียภาษีประจำปี เพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในงบประมาณของปีถัดไปได้ โดยเก็บไว้ได้สูงสุดถึง 5 ปี

  1. ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า หากเราจดทะเบียนนิติบุคคลยังสามารถนำค่าใช้จ่ายของการจดทะเบียนบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี ไปยื่นขอลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 2 เท่า เป็นเวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่องกัน แต่ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ถึงจะขอลดหย่อนในส่วนนี้ได้
  1. ลดหย่อนภาษีด้วยค่าเสื่อมของทรัพย์สินบริษัท ในการทำธุรกิจ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท เมื่อเราได้จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ก็สามารถนำทรัพย์สินเหล่านี้มารับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีได้ โดยทรัพย์สินที่นำมาคิดมีดังนี้

– ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีระยะเวลาในการใช้งานไม่เกิน 5 ปี จะสามารถนำมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 40% จากราคาที่ซื้อ และทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชีหรือภายใน 3 ปี

– ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน ที่มีระยะเวลาในการใช้งานไม่เกิน 20 ปี และมูลค่าไม่เกิน 200 ล้านบาทโดยไม่รวมที่ดิน จะสามารถคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของมูลค่าต้นทุน แล้วทยอยหักภายใน 20 ปี

– ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ที่มีระยะเวลาในการใช้งานไม่เกิน 5 ปี สามารถคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินที่เหลือ และทยอยหักภายในเวลา 5 ปี

  1. ลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาคการบริจาคเงินช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ นั้น สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

– บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจะสามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่าจำนวนเงินที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

– บริจาคให้กับกองทุนวิจัยรวม 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา และกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยสามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค

– บริจาคให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ได้การรับรองจากคณะรัฐมนตรีจะสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล

  1. ลดหย่อนจากค่าจ้างลูกจ้างสูงอายุตามมาตรการของกรมสรรพากรได้มีการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ จึงให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทนิติบุคคล โดยสามารถนำเงินค่าจ้างมาคำนวณเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขคือ พนักงานจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างกับกรมการจัดหางานแล้ว รวมถึงไม่เคยเป็นกรรมการบริษัทมาก่อนและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน
  1. ลดหย่อนจากการทำประกันชีวิตการทำประกันชีวิตให้กับกรรมการบริษัทก็เป็นอีกสิ่งที่เราสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยที่การจ่ายเบี้ยประกันจะต้องเป็นไปตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัท จึงถือเป็นรายจ่ายของบริษัทที่จะนำมาคำนวณภาษีได้นั่นเอง

หากเราเป็นผู้ประกอบการ การจดทะเบียนนิติบุคคลก็จะช่วยให้เราประหยัดค่าภาษีได้มาก เพราะมีค่าลดหย่อนมากมายดังที่ยกตัวอย่างไป แต่เราต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าธุรกิจของเรานั้นเหมาะที่จดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่ โดยควรเปรียบเทียบอัตราการเสียภาษีกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียก่อนเพื่อให้เราสามารถจ่ายภาษีได้คุ้มค่าที่สุด และหากว่าคุณต้องการที่จะเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากชื่อของตัวเองไปเป็นในรูปแบบบริษัทนั้น ก็ต้องศึกษาก่อนให้ดี เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้